Q: ภาระกิจในการกำกับดูแลสินค้า
A: กระทรวงพาณิชย์ โดยกรมการค้าภายใน มีภารกิจหลักในการกำกับดูแลราคาสินค้าให้เป็นธรรม มีปริมาณสินค้าเพียงพอกับความต้องการ และป้องกันมิให้มีการฉวยโอกาสเอาเปรียบผู้บริโภค โดยอาศัยอำนาจตามพระราชบัญญัติว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ พ.ศ. 2542 โดยหลักการกรมการค้าภายในยึดหลักการค้าเสรีให้กลไกตลาดเป็นตัวกำหนด ดังนั้นราคาสินค้าและบริการจึงขึ้นอยู่กับต้นทุนสินค้าและบริการ demand supply การแข่งขันในสินค้าเดียวกัน การแข่งขันในสินค้าที่สามารถทดแทนกันได้ ซึ่งไม่ได้แตกต่างจากประเทศ
ในส่วนที่เป็นสินค้าที่จำเป็นต่อการครองชีพของประชาชน คณะกรรมการกลางว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ (กกร.) โดยความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีได้กำหนดให้เป็นสินค้าและบริการควบคุม 56 รายการ (51 สินค้า และ 5 บริการ) รวมทั้งมีการกำหนดมาตรการควบคุมที่แตกต่างกันไปตามประเภทของสินค้าและบริการ โดยมาตรการที่เข้มข้นมากที่สุด คือ การกำหนดราคาขายสูงสุด โดยปัจจุบันมีเพียงรายการเดียว คือ หน้ากากอนามัยทางการแพทย์ที่ผลิตในประเทศ กำหนดราคาควบคุมไว้ 2.50 บาทต่อชิ้น ส่วนหน้ากากอนามัยทางเลือกให้เป็นไปตามต้นทุนและอัตราส่วนเหลื่อม (margin) ที่กฎหมายกำหนด
ส่วนสินค้าอื่นๆ จะมีมาตรการเข้มข้นรองลงมา เช่น สินค้าปุ๋ย ยาปราบศัตรูพืช บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป นม และปลากระป๋อง เป็นต้นการจำหน่ายในลักษณะที่แตกต่างจากเดิม ไม่ว่าจะเป็นการปรับราคา การปรับขนาด การปรับสูตร การปรับรสชาติ จะต้องได้รับอนุญาตจากเลขาธิการ กกร. คือ อธิบดีกรมการค้าภายในก่อน หากไม่ได้รับอนุญาต ถือว่ามีความผิด
ส่วนมาตรการอื่น ๆ เช่น การกำหนดให้แจ้งราคา ปริมาณ สถานที่เก็บ และต้นทุน เป็นต้น ส่วนทำไมไม่ปล่อยให้เป็นตามกลไกตลาด นายจักรา ยอดมณี กล่าวว่า ในส่วนที่เป็นสินค้าจำเป็นต่อการครองชีพของประชาชน กระทรวงพาณิชย์ได้ขอความร่วมมือให้ผู้ประกอบการ ทั้งผู้ผลิตและผู้จำหน่ายสินค้าตรึงราคาสินค้า เพื่อช่วยบรรเทาภาระค่าครองชีพให้แก่ประชาชน โดยที่ประชาชนได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การระบาดของโควิด-19 ตั้งแต่ปี 2563 และมีการล็อคดาวน์ส่งผลให้เศรษฐกิจชะลอตัว ในช่วงนั้นราคาน้ำมันค่อนข้างต่ำ และราคาสินค้าและบริการยังอยู่ในภาวะปกติ ต่อมาแม้สถานการณ์โควิด-19 ดีขึ้น ประเทศต่างๆ ทั่วโลกก็ยังอยู่ในช่วงฟื้นฟูเศรษฐกิจของตัวเองอยู่
อย่างไรก็ตาม ในปี 2565 กรมได้อนุญาตให้สินค้า 3 รายการปรับราคาสินค้าเพิ่มขึ้นได้ คือ ปุ๋ย บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป และนม เพื่อไม่ให้มีผลกระทบต่อปริมาณสินค้า เนื่องจากหากผู้ผลิตไม่สามารถผลิตสินค้าขายในประเทศ อาจทำให้เกิดปัญหาสินค้าขาดแคลนได้
ทั้งนี้ การอนุญาตให้ปรับราคา แต่ละสินค้ามาจากปัจจัยที่แตกต่างกัน โดยในส่วนของปุ๋ยนั้นเป็นสินค้าที่ต้องนำเข้าเกือบ 100 % ราคาจึงเป็นไปตามราคาตลาดโลกที่สูงขึ้น ซึ่งมาจากราคาพลังงานที่ปรับสูงขึ้น ทั้ง น้ำมันดิบ ก๊าซธรรมชาติ ที่กระทบต่อต้นทุนปุ๋ยมากเพราะการผลิตปุ๋ยเคมีที่สำคัญ เช่น Urea (46-0-0) Ammonium Sulfate (21-0-0) และ Diammonium phosphate (18-46-0) มีส่วนประกอบสำคัญคือ แอมโมเนีย ที่ได้มาจากก๊าซธรรมชาติ เมื่อราคาพลังงานปรับสูงขึ้นส่งผลให้ราคาปุ๋ยปรับตัวสูงขึ้นตั้งแต่ต้นปี 2564 และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นสูงมาก
และในช่วงต้นปี 2565 ยังเกิดสถานการณ์สงครามรัสเซีย-ยูเครน ทำให้ราคาน้ำมัน ก๊าซธรรมชาติ ธัญพืช และค่าขนส่ง ปรับสูงขึ้น สินค้าปุ๋ยก็ได้รับผลกระทบต่อต้นทุนการผลิตที่สูงขึ้นตามไปด้วย ดังนั้นเพื่อไม่ให้เกิดปัญหาขาดแคลน กรมฯ จึงได้พิจารณาปรับโครงสร้างราคาเพื่อให้สอดคล้องกับ ต้นทุนที่เพิ่มขึ้น เพื่อผู้ประกอบการนำเข้าปุ๋ยมาจำหน่ายได้เพียงพอ
สำหรับบะหมี่กึ่งสำเร็จรูป กรมฯ ได้อนุญาตให้ปรับราคาแบบซองมาตรฐานจากซองละ 6 บาทเป็น 7 บาท เนื่องจากต้นทุนวัตถุดิบหลัก เช่น ข้าวสาลี และน้ำมันปาล์มที่มีราคาสูง รวมทั้งค่าพลังงานเชื้อเพลิงและค่าแรงด้วย ส่วนผลิตภัณฑ์นมที่ปรับขึ้นเป็นไปตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 23 สิงหาคม 2565 เห็นชอบการปรับราคาน้ำนมโค 1.50 บาท/กิโลกรัม หน้าโรงงานแปรรูป (จากเดิม 19 บาทเป็น 20.50 บาท) โดยการพิจารณาปรับราคานั้นได้ยึดหลัก Win-Win model โดยผู้บริโภคได้รับผลกระทบน้อยที่สุด และผู้ประกอบการยังคงประกอบธุรกิจต่อไปได้ แต่เมื่อมีการปรับขึ้นราคาของสินค้าดังกล่าวแล้ว เมื่อต้นทุนสินค้าลดลงแล้วผู้ประกอบการก็ได้มีการปรับราคาลงเช่นกัน เช่น ปุ๋ย Urea (46-0-0) ขณะนี้ราคาปรับลดลงเกือบ 30% แล้ว
สำหรับสินค้าจำเป็นอื่นๆ กรมฯ ยังคงขอความร่วมมือให้ผู้ประกอบการตรึงราคาสินค้าต่อไป เพื่อช่วยลดภาระค่าครองชีพให้กับประชาชน ทั้งนี้กรมการค้าภายในได้ติดตามสถานการณ์พิจารณาต้นทุนของผู้ประกอบการอย่างใกล้ชิด แม้ว่าการขอความร่วมมือตรึงราคาสินค้าอาจจะทำให้ผู้ผลิตสินค้ากำไรน้อยลงไปบ้าง แต่ก็ได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดีถือว่าเป็นมาตรการร่วมด้วยช่วยกัน และมีข้อสังเกตว่าผู้ประกอบการ
ส่วนใหญ่ไม่ได้ต้องการจะปรับราคาสินค้าให้สูงขึ้นเพราะอาจจะมีผลกระทบต่อยอดขายของธุรกิจเอง หากคู่แข่งไม่ขึ้นราคา และยอมตรึงราคาสินค้า เนื่องจากตลาดมีการแข่งขัน อีกทั้งยังมีการจัดโปรโมชั่น ลดราคาต่อเนื่องหมุนเวียนกันไป ตามห้างสรรพสินค้าต่างๆ ทั้งของกินของใช้
Q:. หากบริษัทไม่ยอมให้ความร่วมมือ ผลจะเป็นอย่างไร
A: หากบริษัทฯ ไม่ให้ความร่วมมือ จะมีผลกระทบแบ่งเป็น 2 ส่วน คือ ส่วนแรก ผลเสียต่อการค้า คือ
เรื่องยอดขาย เนื่องจากหากคู่แข่งร่วมมือไม่ขึ้นราคาสินค้า ก็จะมีผลทำให้ยอดขาย เขาลดลงเอง ส่วนที่สองคือ ผลทางกฎหมาย หากเป็นสินค้าที่ต้องได้รับอนุญาตก่อนปรับราคา หากปรับราคาโดยไม่ได้รับอนุญาตจะมีความผิดตาม พ.ร.บ. ว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ พ.ศ. 2542 มาตรา 26 วรรค 2 และมีโทษตาม มาตรา 39 คือ จำคุกไม่เกิน 5 ปี หรือ ปรับไม่เกิน 1 แสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และหากพบว่าเป็นการจำหน่ายในราคาสูงเกินสมควรไม่วว่าเป็นสินค้าใด อาจเข้าข่ายการกระทำผิดตาม พ.ร.บ. ว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ พ.ศ. 2542 มาตรา 29 ซึ่งมีโทษจำคุกไม่เกิน 7 ปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนสี่หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
Q: รัฐเข้าไปแทรกแซงอย่างนี้ (ถึงแม้ว่าจะอ้างเพื่อประโยชน์ของผู้บริโภคและประชาชน) จะส่งผลทำให้อัตรา inflation ในบ้านเราสะท้อนความเป็นจริงหรือไม่ หรือจะมีผลต่อความน่าเชื่อถือหรือไม่
A: ปี 2565 อัตราเงินเฟ้อของไทยเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.08 โดยต่ำเป็นอันดับที่ 33 จาก 129 เขตเศรษฐกิจที่มีการประกาศตัวเลข ซึ่งต่ำกว่าหลายประเทศ อาทิ สหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร อิตาลี เม็กซิโก และอาเซียน (ลาว ฟิลิปปินส์ และสิงคโปร์) Trade Policy and Strategy Office under Commerce Ministry ได้เก็บข้อมูลและคำนวณอัตราเงินเฟ้อตามหลักสากลโดยเก็บข้อมูลราคาสินค้าและบริการตามหมวดหมู่ เช่น food and non-alcoholic beverage ค่าพาหนะ ค่าขนส่ง การสื่อสาร ค่าเช่าบ้าน ค่ารักษาพยาบาล ค่าบริการส่วนบุคคล ค่าบันเทิง ค่าเทอม เสื้อผ้า ยาสูบ และ เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ โดยมีงานวิชาการจากมูลนิธิป๋วย อึ้งภากรณ์
ระบุว่า ปัจจัยหลักที่ทำให้อัตราเงินเฟ้อของไทยเปลี่ยนแปลงถูกขับเคลื่อนจาก หมวดพลังงานมีสัดส่วนร้อยละ 87.9 เช่น น้ำมันเชื้อเพลิง ไฟฟ้า และก๊าซหุงต้ม ขณะที่หมวดอาหารมีสัดส่วนร้อยละ 8.9 ดังนั้น การขอ
ความร่วมมือให้ผู้ผลิตตรึงราคาสินค้าอุปโภคบริโภคถือว่าส่งผลกระทบต่อการคำนวณอัตราเงินเฟ้อของไทย
ไม่มาก หากดูจากจำนวนสัดส่วนการคำนวณเงินเฟ้อจากรายการสินค้าทั้งหมด