ไทยแลนด์ ยัง มิวซิเชี่ยนส์ อวอร์ด 2025”
จัดขึ้นเป็นปีที่ 2 ภายใต้การนำของประธานการจัดงาน คุณจุลยุท (แทน)   โล่โชตินันท์ ( ผู้ก่อตั้งวงบางกอก แชริตี้ ออเคสตร้า BCO ) ด้วยความมุ่งมั่นที่จะขยายพื้นที่ในการแสดงออกทางดนตรีให้กับเยาวชนไทยอย่างเต็มที่ ทั้งในด้านการขับร้อง ดนตรีคลาสสิค, ดนตรีร่วมสมัย, และดนตรีไทย เวทีนี้เปิดโอกาสให้เยาวชนไทยจากทั่วประเทได้แสดงศักยภาพทางดนตรีที่หลากหลาย พร้อมทั้งเก็บเกี่ยวประสบการณ์จากผู้เชี่ยวชาญในวงการดนตรี สร้างทักษะและเตรียมพร้อมสำหรับการก้าวสู่เส้นทางอาชีพในวงการดนตรีระดับสากล

คุณจุลยุทธ(แทน)  โล่โชตินันท์ ผู้ก่อตั้งวงบางกอก แชริตี้ ออเคสตร้า – BCO กล่าวว่า จาก

ความสำเร็จของการจัดการประกวดในปีที่ผ่านมา ทำให้เราเดินหน้าจัดงาน “ไทยแลนด์ ยัง มิวซิเชี่ยนส์ อวอร์ด 2025” เป็นปีที่ 2 อย่างต่อเนื่อง และ โดยเฉพาะในปีนี้ผมเห็นว่าอุตสาหกรรมดนตรีกำลังเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว การเปิดพื้นที่เพื่อให้เยาวชนแข่งขันเป็นการสร้างโอกาสที่สำคัญในการพัฒนาทักษะและเปิดโลกทัศน์ใหม่ ๆ ด้านดนตรีให้แก่เยาวชนผู้มีความสามารถ ซึ่งในปีนี้เรายังคงมุ่งมั่นที่จะสนับสนุนและยกระดับการแสดงออกทางดนตรีของเยาวชนไทย ทุกมิติทั้งด้านทักษะการแสดงและการสร้างสรรค์ผลงานดนตรีที่มีคุณค่า

ในโอกาสนี้ยังมีการมอบรางวัลเกียรติยศแก่คุณครูผู้ฝึกสอนที่มีส่วนสำคัญในการช่วยเสริมสร้างแลพัฒนาศักยภาพของเยาวชน โดยมีการมอบรางวัล Top 10 Thailand Best Music Teachers” ให้กับคุณครูผู้ที่สร้างแรงบันดาลใจและสนับสนุนการเติบโตของนักเรียนอย่างเต็มที่1. เสกข์ ทองสุวรรณ  2.ไอริณ ปรีชาญวินิจ  3. กนกกาญจน์ กล่อมชุ่ม 4. ดร.พรพรรณ บรรเทิงหรรษา 5.กามเทพ ธีรเลิศรัตน์  6. ศรวณีย์ พรพิทักษ์พงศ์  7. ชลธิชา เชียงทอง 8. ลูกศร วฤทธรัชต์ 9. ตฤณสิษฐ์ วราพรชัยศักดิ์

“ไทยแลนด์ ยัง มิวซิเชี่ยนส์ อวอร์ด 2025 จัดขึ้น โรงละครอักษรา คิงพาวเวอร์ รางน้ำ โดยมีผู้สมัครเข้าร่วมแข่งขันกว่า 400 คน ซึ่งผ่านการคัดเลือกเหลือเพียง  25 คน เพื่อรับมอบรางวัล Top 25 Thailand Young Musicians Award พร้อมทั้งโอกาสขึ้นเวทีเพื่อแสดงความสามารถอย่างเต็มที่ โดยมีรายชื่อเยาวชนผู้รับมอบรางวัล แต่ละสาขาดังนี้

เปียโน: 1. พลอยชมพู วงศ์วัฒนากิจ 2. ภัทราพร เลอเลิศวณิชย์ 3. อารยา อภิบาลพุทธคุณ 4.นภัทร โฉลกพันธ์รัตน์ 5. ณัฐชนก ชลคุป 6. พรรษวัชร์ พงษ์เภตรารัตน์ 7. พสิษฐ์ วัฒนาเลขาวงศ์  8.ฐิติวัชร์ อยู่ชาวไร่   9. กัญญาพัชร ด่านกุล 10.ศิลปิน เกียรติเมธา ร้องเพลง  : 11. อลิยา ตันบุญเจริญ 12. ปรรณพัชร์  เหล่าสุขสันติวงศ์ 13. ภัทณัฏฐ์ เอี่ยมโสภณา 14. ชญาภา อัศวรักวงศ์15. ณปภา จิระประยูร 16. ฉัตรกวินท์ ทินกร ณ อยุธยากีตาร์ : 17. ติณณ์ ไชยสถิตวานิช เครื่องสาย : 18. ปานตะวัน แซ่เฮง(กู่เจิง) 19. ฌริตา คุ้มวรชัย (ไวโอลิน)กลอง : 20. ธีรรินทร์  จงเจริญพรสุข 21. ศศะณัณญ์ สุหัตถาพร เครื่องเป่า : 22. ภาภูมิ โพธิ์พงษ์ (ฟลู) 23. ณวิชช์ ธรรมไกรสร (อัลโต้ แซกโซโฟ) ดนตรีไทย : 24. กานต์พิชชา เสรีวิริยะกูล(ขิม) 25. ดร เดชะรินทร์  , ดล เดชะรินทร์(ระนาดเอก)

น้องพสิษฐ์ วัฒนาเลขาวงศ์ (กาย) อายุ 16 ปี ศึกษาอยู่ที่ อีตัน คอลเลจ (Eton College) ประเทศอังกฤษ เผยว่า พอรู้ว่าเข้ารอบ 25 คน ดีใจมากครับ เพิ่งกลับมาจากอังกฤษเมื่อวานนี้ วันนี้ก็มาที่นี่เลยครับ กายเริ่มเล่นเปียโนตั้งแต่อายุ 4 ขวบเล่นมาเรื่อยๆเพราะชอบเสียงเปียโน และชอบเสียงปรบมือของคนดู นอกจากเปียโนแล้วกายเล่น เทเนอร์แซกโซโฟน(Tenor Saxophone) , แซกโซโฟน และ วิโอล่า(Viola) ด้วย แต่กายชอบเปียโนที่สุดครับ เคยแข่งประกวดที่ อเมริกา อังกฤษเกาหลี ญี่ปุ่น ฮ่องกง สิงคโปร์ ได้ที่ 1 มาบ้างไม่ได้มาบ้างครับ ตอนนี้เล่นมา 12 ปีแล้ว ก็เล่นไปเรื่อยๆแต่ตอนนี้ก็จะโฟกัสการเรียนมากกว่าครับ

ทางด้าน น้องฉัตรกวินท์ ทินกร ณ อยุธยา(สมาย) อายุ 11 ปี ปัจจุบันศึกษาอยู่โรงเรียนนานาชาติเซนต์แอนดรูส์ เล่าว่า ฝึกร้องเพลงมาตั้งแต่อายุ 4บ ดีใจที่ได้รางวัล เลือกเพลงมาประกวดเพราะเป็นเพลงที่ใช้เสียงสูงใช้แข่งได้ แม่และครูสมัครโครงการนี้ให้ คิดว่าการร้องเพลงให้ประสบการณ์หลายอย่าง การพัฒนาตัวเองและได้รางวัล อยากแนะนำคนที่สนใจดนตรีว่าขอให้ฝึกซ้อมอย่างสม่ำเสมอ

ขณะที่ น้องปานตะวัน แซ่เฮง (ปาย) อายุ 14 ปีโรงเรียนนานาชาติจีน ได้โชว์การเล่นกู่เจิง บอกว่า เริ่มเรียนดนตรีตั้งแต่อายุ 3 ขวบ เล่น ูคูเลเล่ ไวโอลน พอ 8 บคุณพ่อเปิดทีวีเห็นสมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี ท่านทรงดนตรีกู่เจิง เลยชอบจึงมาสมัครเรียน จนจบเกรดสูงสุด มีโอกาสได้ไปเดินพรมแดงโชว์เกี่ยวกับกู่เจิงที่มาเลเซีย เล่นกู่เจิงทำให้มีสมาธิ เวลาวางน้ำหนักมือถ้าไม่ดีพอก็จะไม่มีเสียงออกมาเหมือนฝึกกำลงภายใน เพลงที่เล่น สู่พายุ ท่อนแรกเปิดฉากมายินดีต้อนรับสู่หมู่บ้านนี้ ท่อนสองพายุเข้า พอสงบก็รู้สึกภูมิใจที่อยู่ต่อได้ ท่อนสุดท้ายเป็นการเฉลิมฉลอง ดีใจมากที่ได้รับรางวัล คนเยอมาก คัดเหลือ 25 คนเอง จบเกรดสูงสุดแล้วแต่ยังเหลือเทคนิคในแต่ละเผ่า ก็อยากเรียนต่อ สำหรับคนที่สนใจดนตรีกู่เจิง ขอแนะนำว่า อย่ายอมแพ้ หลายคนพอเริ่มฝึก สองสามสัปดาห์ก็ท้อเลิกเล่น หากอดทนเล่นต่อไปจะประสบความสำเร็จ

และ น้องกานต์พิชชา เสรีวิริยะกูล (เอญ่า)อายุ 12 ปี โรงเรียนนานาชาติโชรส์เบอรี เล่าว่า เล่นขิมตั้งแต่ 6 ขวบเล่นก่อนหน้านี้เล่น ฟลู(Flute) ด้วย ชอบทั้งสอง ขิมจะใช้มือส่วนฟลูจะใช้ลม เล่นดนตรีทำให้ได้เรียนรู้ ดนตรีทั้งสองแบบต้องเก่ง ขิมไม่มีโน๊ตแบบเป็นแผ่น ต้องจำเอง ส่วนฟลูเป็เครื่องแบบสากล ใช้ลมวางตรงปากใช้ความสัมผัสเป่าลงรูเราไม่รู้ว่ารูอยู่ตรงไหน ได้รางวัลจากการไปแข่งเยอะทั้งสองอย่าง เวทีนี้คุณแม่กับคุณครูให้มาประกวด ปีที่แล้วก็ได้รางวัลแต่ไม่ได้มาแสดงเพราะไปแข่งที่โอซาก้า ปีนี้ดีใจมากค่ะที่ได้รางวัล

ติดตามข่าวสารการประกวดต่างๆได้ที่ Facebook : https://www.facebook.com/profile.php?id=61555442782307

แชร์บทความนี้