ไทยแลนด์ ยัง มิวซิเชี่ยนส์ อวอร์ด 2025” จัดขึ้นเป็นปีที่ 2 ภายใต้การนำของประธานการจัดงาน คุณจุลยุทธ (แทน) โล่โชตินันท์ ( ผู้ก่อตั้งวงบางกอก แชริตี้ ออเคสตร้า – BCO ) ด้วยความมุ่งมั่นที่จะขยายพื้นที่ในการแสดงออกทางดนตรีให้กับเยาวชนไทยอย่างเต็มที่ ทั้งในด้านการขับร้อง ดนตรีคลาสสิค, ดนตรีร่วมสมัย, และดนตรีไทย เวทีนี้เปิดโอกาสให้เยาวชนไทยจากทั่วประเทศได้แสดงศักยภาพทางดนตรีที่หลากหลาย พร้อมทั้งเก็บเกี่ยวประสบการณ์จากผู้เชี่ยวชาญในวงการดนตรี สร้างทักษะและเตรียมพร้อมสำหรับการก้าวสู่เส้นทางอาชีพในวงการดนตรีระดับสากล
คุณจุลยุทธ(แทน) โล่โชตินันท์ ผู้ก่อตั้งวงบางกอก แชริตี้ ออเคสตร้า – BCO กล่าวว่า “จาก
ความสำเร็จของการจัดการประกวดในปีที่ผ่านมา ทำให้เราเดินหน้าจัดงาน “ไทยแลนด์ ยัง มิวซิเชี่ยนส์ อวอร์ด 2025” เป็นปีที่ 2 อย่างต่อเนื่อง และ โดยเฉพาะในปีนี้ผมเห็นว่าอุตสาหกรรมดนตรีกำลังเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว การเปิดพื้นที่เพื่อให้เยาวชนแข่งขันเป็นการสร้างโอกาสที่สำคัญในการพัฒนาทักษะและเปิดโลกทัศน์ใหม่ ๆ ด้านดนตรีให้แก่เยาวชนผู้มีความสามารถ ซึ่งในปีนี้เรายังคงมุ่งมั่นที่จะสนับสนุนและยกระดับการแสดงออกทางดนตรีของเยาวชนไทย ทุกมิติทั้งด้านทักษะการแสดงและการสร้างสรรค์ผลงานดนตรีที่มีคุณค่า”
ในโอกาสนี้ยังมีการมอบรางวัลเกียรติยศแก่คุณครูผู้ฝึกสอนที่มีส่วนสำคัญในการช่วยเสริมสร้างและพัฒนาศักยภาพของเยาวชน โดยมีการมอบรางวัล “Top 10 Thailand Best Music Teachers” ให้กับคุณครูผู้ที่สร้างแรงบันดาลใจและสนับสนุนการเติบโตของนักเรียนอย่างเต็มที่1. เสกข์ ทองสุวรรณ 2.ไอริณ ปรีชาญวินิจ 3. กนกกาญจน์ กล่อมชุ่ม 4. ดร.พรพรรณ บรรเทิงหรรษา 5.กามเทพ ธีรเลิศรัตน์ 6. ศรวณีย์ พรพิทักษ์พงศ์ 7. ชลธิชา เชียงทอง 8. ลูกศร วฤทธรัชต์ 9. ตฤณสิษฐ์ วราพรชัยศักดิ์
“ไทยแลนด์ ยัง มิวซิเชี่ยนส์ อวอร์ด 2025” จัดขึ้น ณ โรงละครอักษรา คิงพาวเวอร์ รางน้ำ โดยมีผู้สมัครเข้าร่วมแข่งขันกว่า 400 คน ซึ่งผ่านการคัดเลือกเหลือเพียง 25 คน เพื่อรับมอบรางวัล “ Top 25 Thailand Young Musicians Award “ พร้อมทั้งโอกาสขึ้นเวทีเพื่อแสดงความสามารถอย่างเต็มที่ โดยมีรายชื่อเยาวชนผู้รับมอบรางวัล แต่ละสาขาดังนี้
เปียโน: 1. พลอยชมพู วงศ์วัฒนากิจ 2. ภัทราพร เลอเลิศวณิชย์ 3. อารยา อภิบาลพุทธคุณ 4.นภัทร โฉลกพันธ์รัตน์ 5. ณัฐชนก ชลคุป 6. พรรษวัชร์ พงษ์เภตรารัตน์ 7. พสิษฐ์ วัฒนาเลขาวงศ์ 8.ฐิติวัชร์ อยู่ชาวไร่ 9. กัญญาพัชร ด่านกุล 10.ศิลปิน เกียรติเมธา ร้องเพลง : 11. อลิยา ตันบุญเจริญ 12. ปรรณพัชร์ เหล่าสุขสันติวงศ์ 13. ภัทณัฏฐ์ เอี่ยมโสภณา 14. ชญาภา อัศวรักวงศ์15. ณปภา จิระประยูร 16. ฉัตรกวินท์ ทินกร ณ อยุธยากีตาร์ : 17. ติณณ์ ไชยสถิตวานิช เครื่องสาย : 18. ปานตะวัน แซ่เฮง(กู่เจิง) 19. ฌริตา คุ้มวรชัย (ไวโอลิน)กลอง : 20. ธีรรินทร์ จงเจริญพรสุข 21. ศศะณัณญ์ สุหัตถาพร เครื่องเป่า : 22. ภาภูมิ โพธิ์พงษ์ (ฟลู้ท) 23. ณวิชช์ ธรรมไกรสร (อัลโต้ แซกโซโฟน) ดนตรีไทย : 24. กานต์พิชชา เสรีวิริยะกูล(ขิม) 25. ดร เดชะรินทร์ , ดล เดชะรินทร์(ระนาดเอก)
น้องพสิษฐ์ วัฒนาเลขาวงศ์ (กาย) อายุ 16 ปี ศึกษาอยู่ที่ อีตัน คอลเลจ (Eton College) ประเทศอังกฤษ เผยว่า “พอรู้ว่าเข้ารอบ 25 คน ดีใจมากครับ เพิ่งกลับมาจากอังกฤษเมื่อวานนี้ วันนี้ก็มาที่นี่เลยครับ กายเริ่มเล่นเปียโนตั้งแต่อายุ 4 ขวบเล่นมาเรื่อยๆเพราะชอบเสียงเปียโน และชอบเสียงปรบมือของคนดู นอกจากเปียโนแล้วกายเล่น เทเนอร์แซกโซโฟน(Tenor Saxophone) , แซกโซโฟน และ วิโอล่า(Viola) ด้วย แต่กายชอบเปียโนที่สุดครับ เคยแข่งประกวดที่ อเมริกา อังกฤษเกาหลี ญี่ปุ่น ฮ่องกง สิงคโปร์ ได้ที่ 1 มาบ้างไม่ได้มาบ้างครับ ตอนนี้เล่นมา 12 ปีแล้ว ก็เล่นไปเรื่อยๆแต่ตอนนี้ก็จะโฟกัสการเรียนมากกว่าครับ”
ทางด้าน น้องฉัตรกวินท์ ทินกร ณ อยุธยา(สมาย) อายุ 11 ปี ปัจจุบันศึกษาอยู่โรงเรียนนานาชาติเซนต์แอนดรูส์ เล่าว่า “ฝึกร้องเพลงมาตั้งแต่อายุ 4 ขวบ ดีใจที่ได้รางวัล เลือกเพลงมาประกวดเพราะเป็นเพลงที่ใช้เสียงสูงใช้แข่งได้ แม่และครูสมัครโครงการนี้ให้ คิดว่าการร้องเพลงให้ประสบการณ์หลายอย่าง การพัฒนาตัวเองและได้รางวัล อยากแนะนำคนที่สนใจดนตรีว่าขอให้ฝึกซ้อมอย่างสม่ำเสมอ”
ขณะที่ น้องปานตะวัน แซ่เฮง (ปาย) อายุ 14 ปีโรงเรียนนานาชาติจีน ได้โชว์การเล่นกู่เจิง บอกว่า “เริ่มเรียนดนตรีตั้งแต่อายุ 3 ขวบ เล่น อูคูเลเล่ ไวโอลิน พอ 8 ขวบคุณพ่อเปิดทีวีเห็นสมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี ท่านทรงดนตรีกู่เจิง เลยชอบจึงมาสมัครเรียน จนจบเกรดสูงสุด มีโอกาสได้ไปเดินพรมแดงโชว์เกี่ยวกับกู่เจิงที่มาเลเซีย เล่นกู่เจิงทำให้มีสมาธิ เวลาวางน้ำหนักมือถ้าไม่ดีพอก็จะไม่มีเสียงออกมาเหมือนฝึกกำลังภายใน เพลงที่เล่น สู่พายุ ท่อนแรกเปิดฉากมายินดีต้อนรับสู่หมู่บ้านนี้ ท่อนสองพายุเข้า พอสงบก็รู้สึกภูมิใจที่อยู่ต่อได้ ท่อนสุดท้ายเป็นการเฉลิมฉลอง ดีใจมากที่ได้รับรางวัล คนเยอะมาก คัดเหลือ 25 คนเอง จบเกรดสูงสุดแล้วแต่ยังเหลือเทคนิคในแต่ละเผ่า ก็อยากเรียนต่อ สำหรับคนที่สนใจดนตรีกู่เจิง ขอแนะนำว่า อย่ายอมแพ้ หลายคนพอเริ่มฝึก สองสามสัปดาห์ก็ท้อเลิกเล่น หากอดทนเล่นต่อไปจะประสบความสำเร็จ”
และ น้องกานต์พิชชา เสรีวิริยะกูล (เอญ่า)อายุ 12 ปี โรงเรียนนานาชาติโชรส์เบอรี เล่าว่า “เล่นขิมตั้งแต่ 6 ขวบเล่นก่อนหน้านี้เล่น ฟลู้ท(Flute) ด้วย ชอบทั้งสอง ขิมจะใช้มือส่วนฟลู้ทจะใช้ลม เล่นดนตรีทำให้ได้เรียนรู้ ดนตรีทั้งสองแบบต้องเก่ง ขิมไม่มีโน๊ตแบบเป็นแผ่น ต้องจำเอง ส่วนฟลู้ทเป็นเครื่องแบบสากล ใช้ลมวางตรงปากใช้ความสัมผัสเป่าลงรูเราไม่รู้ว่ารูอยู่ตรงไหน ได้รางวัลจากการไปแข่งเยอะทั้งสองอย่าง เวทีนี้คุณแม่กับคุณครูให้มาประกวด ปีที่แล้วก็ได้รางวัลแต่ไม่ได้มาแสดงเพราะไปแข่งที่โอซาก้า ปีนี้ดีใจมากค่ะที่ได้รางวัล”
ติดตามข่าวสารการประกวดต่างๆได้ที่ Facebook : https://www.facebook.com/profile.php?id=61555442782307